share

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คืออะไร

Last updated: 7 Nov 2023
1598 Views
ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์, ฟื้นฟูร่างกาย, ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

       โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่เราเรียกว่า อัมพฤกษ์ เกิดจากภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตกทำให้มีจุดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองขาดออกซิเจน ถูกทำลาย และทำให้สมองตาย ซึ่งความผิดปกติของโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกได้ ดังนี้
       1.     โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด (Ischemic Stroke) พบได้กว่า 85 % ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
       2.   โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาด ทำให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง พบได้ประมาณ 15 %

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดสมอง

       1.     ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
– อายุ : ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี จะมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดจะมีการแข็งตัวมากขึ้นและมีไขมันเกาะหนาตัวทำให้เลือดไหลผ่านได้ลำบาก
– เพศ : เพศชาย มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง แต่อัตราการเสียชีวิตจากหลอดเลือดสมองในเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย
– ประวัติคนครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ

       2.   ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง , เบาหวาน ,ไขมันในเลือดสูง ,การสูบบุหรี่ , โรคหัวใจ

เราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ดังนี้  ( F.A.S.T )
F  Face : ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง เมื่อพยายามยิ้มจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
A Arm :   มีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย เมื่อพยายามยกแขน แขนข้างใดข้างหนึ่งจะตก
S Speak : พูดลำบาก พูดติดๆขัดๆ พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง นึกคำพูดไม่ออก แม้จะถามคำถามง่ายๆ
T Time : ควรมาโรงพยาบาลด้วยความรวดเร็ว ภายใน 4.5 ชั่วโมง

บทความที่เกี่ยวข้อง
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ใน ผู้สูงอายุ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หมายถึง ภาวะที่บุคคลสูญเสียความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดหรือปัสสาวะราดออกมา พบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย การมีโรคประจำตัว หรือการได้รับยาบางชนิด
กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ
ในผู้สูงอายุนั้น การกายภาพบำบัด เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะทางร่างกาย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งสามารถทำได้ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจาก นักกายภาพบำบัด ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ
วิธีการดูแลผู้สูงอายุ
วิธีการดูแลผู้สูงอายุ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy